3651-2566
การใช้งานในระบบราง - บริภัณฑ์สำหรับรถราง - การทดสอบการสั่นสะเทือนและช็อก
RAILWAY APPLICATIONS - ROLLING STOCK EQUIPMENT - SHOCK AND VIBRATION TESTS
มอก. มาตรฐานทั่วไป
18 เมษายน 2567
IEC 61373:2010
ประกาศและงานทั่วไป
141
พิเศษ 105 ง หน้า 26
17 เมษายน 2567
29 กุมภาพันธ์ 2567
- กำหนดคุณลักษณะที่ต้องการสำหรับการทดสอบรายการของบริภัณฑ์
ที่มีวัตถุประสงค์สำหรับใช้บนรถราง (railway vehicle) ที่อาจมี
ความสั่นสะเทือนและช็อกเนื่องจากธรรมชาติ ของสภาวะแวดล้อม
การปฏิบัติงานทางราง เพื่อให้มั่นใจถึงคุณภาพของบริภัณฑ์เป็นที่ยอมรับ
ได้นั้น บริภัณฑ์ต้องทนต่อการทดสอบในระยะเวลาที่เหมาะสมซึ่งจำลองภาวะการบริการที่เห็นได้ตลอดอายุการใช้งานที่คาดไว้
- การทดสอบอายุการใช้งานแบบจำลองสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียที่เกี่ยวข้องกัน โดยวิธีที่พบบ่อยที่สุดเป็นตามต่อไปนี้:
ก) การขยายสัญญาณ: ที่แอมพลิจูดเพิ่มขึ้นและฐานเวลาลดลง
ข) การบีบอัดเวลา: ที่ประวัติของแอมพลิจูดยังคงอยู่และฐานเวลาลดลง (การเพิ่มความถี่)
ค) การทำลาย: ที่ส่วนเวลาของข้อมูลในอดีตถูกลบออกเมื่อแอมพลิจูด
ต่ำกว่าค่าเกณฑ์ที่ระบุ
- วิธีการขยายสัญญาณตามที่ระบุไว้ใน ก) ข้างต้น ถูกใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้และร่วมกับสิ่งพิมพ์ ที่อ้างอิงถึงในข้อ 2 ซึ่งกำหนดกระบวนการทดสอบเริ่มต้นที่ตามด้วยรายการทดสอบการสั่นสะเทือนสำหรับการใช้กับรถราง อย่างไรก็ตามมีมาตรฐานอื่น ๆอยู่และอาจใช้ความตกลงล่วงหน้าระหว่างผู้ทำและลูกค้า มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ไม่ครอบคลุมการรับรอง การทดสอบในกรณีดังกล่าว เมื่อมีข้อมูลบริการ
การทดสอบสามารถดำเนินการได้โดยใช้วิธีการที่ระบุใน Annex A
หากระดับต่ำกว่าที่ระบุในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ บริภัณฑ์
จะได้รับการรับรองแบบบางส่วนตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ (เฉพาะภาวการณ์บริการที่ให้ค่าการทดสอบฟังก์ชันที่ต่ำกว่าหรือเท่ากับ+ค่าที่ระบุเหล่านั้นในรายงานการทดสอบ)
- แม้ว่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้จะเกี่ยวข้องกับรถรางบนระบบ
รางคงที่เป็นหลัก แต่การใช้งานที่กว้างกว่านั้นก็ไม่ได้ถูกกีดกัน สำหรับระบบที่ทำงานบนยางล้อแบบสูบลม (pneumatic tyres) หรือระบบขนส่งอื่น ๆ เช่น รถโดยสารไฟฟ้า ( trolleybuses) ซึ่งระดับการช็อกและ
การสั่นสะเทือนแตกต่างจากที่ได้รับบนระบบรางคงที่อย่างชัดเจน ผู้จัดหา (supplier) และลูกค้าสามารถตกลงเกี่ยวกับระดับการทดสอบในขั้นตอน
การประกวดราคา (tender stage ) ขอแนะนำให้กำหนดสเปกตรัมความถี่ (frequency spectra) และ แอมพลิจูด/ระยะเวลาช็อก โดยใช้แนวทางใน Annex A บริภัณฑ์ที่ทดสอบในระดับที่ต่ำกว่าที่ระบุในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ไม่สามารถถูกรับรองได้อย่างสมบูรณ์ตามข้อกำหนดของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้
- ตัวอย่างนี้คือรถโดยสารไฟฟ้า ซึ่งบริภัณฑ์ของรถโดยสารไฟฟ้าที่ติดตั้ง
บนตัวถังสามารถทดสอบตามบริภัณฑ์ ประเภทที่ 1 ที่อ้างถึงในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
- ใช้กับการทดสอบแบบแกนเดียว อย่างไรก็ตาม อาจใช้การทดสอบแบบ
หลายแกนโดยมีความตกลงล่วงหน้าระหว่างผู้ทำและลูกค้า
- ค่าการทดสอบที่อ้างอิงในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้แบ่งออก
เป็นสามประเภทโดยขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ของบริภัณฑ์ภายในรถ (vehicle) เท่านั้น
- ประเภท 1 การติดตั้งตัวถัง
- ประเภท ก ห้องเล็ก (cubicle) ชุดประกอบย่อย (subassembly) บริภัณฑ์ และส่วนประกอบ (component) ที่ติดตั้งโดยตรงหรือใต้ตัวถังรถ
(car body)
- ประเภท ข สิ่งใดก็ตามที่ติดตั้งภายในกล่อง (case) บริภัณฑ์ซึ่งติดตั้งโดยตรงหรือใต้ตัวถังรถ
หมายเหตุ 1 ควรใช้ประเภท B เมื่อไม่ชัดเจนว่าจะตั้งบริภัณฑ์ไว้ที่ใด
- ประเภทที่ 2 การติดตั้งโบกี้ (Bogie)
- ห้องเล็ก ชุดประกอบย่อย บริภัณฑ์ และส่วนประกอบที่ติดตั้งบนโบกี้ของรถราง
- ประเภทที่ 3 การติดตั้งเพลา (axle)
- ส่วนประกอบย่อย บริภัณฑ์และส่วนประกอบหรือส่วนประกอบที่จะติดตั้ง
บนชุดล้อของรถราง
หมายเหตุ 2 ในกรณีของบริภัณฑ์ที่ติดตั้งบนรถที่มีระบบกันสะเทือนระดับเดียว เช่น
ตู้สินค้า (wagon) และตู้บรรทุก (truck) เว้นแต่จะตกลงเป็นอย่างอื่นในขั้นตอนประกวดราคา บริภัณฑ์ที่ติดตั้งบนเพลาจะถูกทดสอบเป็นประเภท 3 และบริภัณฑ์อื่น ๆ ทั้งหมดจะถูกทดสอบเป็นประเภท 2
- ค่าใช้จ่ายในการทดสอบขึ้นอยู่กับน้ำหนัก รูปร่าง และความซับซ้อนของอุปกรณ์ที่ทดสอบ ดังนั้นในขั้นตอนการประกวดราคา ผู้จัดหาอาจเสนอวิธีการที่คุ้มค่ากว่าในการแสดงงว่าปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานนี้ เมื่อมีการตกลงวิธีการอื่น ผู้จัดหาจะต้องรับผิดชอบในการแสดงให้ลูกค้าหรือตัวแทนของเขาเห็นว่าบรรลุวัตถุประสงค์ของมาตรฐานนี้แล้ว หากมีการ
ตกลงใช้วิธีอื่นในการประเมิน อุปกรณ์ที่ผ่านการทดสอบจะไม่ได้รับ
การรับรองตามข้อกำหนดของมาตรฐานนี้
- มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริภัณฑ์ที่ติดอยู่กับโครงสร้างหลักของรถ (และ/หรือส่วนประกอบที่ติดตั้งบนนั้น) ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบบริภัณฑ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างหลัก โดยโครงสร้างหลักตามความหมายของมาตรฐานนี้ หมายถึง ตัวถังของรถ (car body) โบกี้ (bogie) และเพลา
มีหลายกรณีที่มีการทดสอบการสั่นสะเทือนเพิ่มเติมหรือแบบพิเศษ ที่อาจ
ถูกร้องขอโดยลูกค้า เช่น
ก) บริภัณฑ์ที่ติดตั้ง หรือเชื่อมโยงกับสิ่งของซึ่งทราบกันดีว่าสร้าง
ความกระตุ้นด้วยความถี่คงที่
ข) บริภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น มอเตอร์ลากจูง (traction motors) แหนบรับไฟ (pantographs) ชูเกียร์ (shoegear) หรือส่วนประกอบของระบบ
กันสะเทือน
- ซึ่งอาจถูกทดสอบตามข้อกำหนดพิเศษที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้กับรถราง ในกรณีดังกล่าวควรทำการทดสอบโดยความตกลงที่แยกต่างหากในขั้นตอน
การประกวดราคา;
ค) บริภัณฑ์ที่มีไว้สำหรับใช้ในสภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานพิเศษตามที่ลูกค้ากำหนด