รายละเอียดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  3760 เล่ม 12(6)-2567
  ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม - เล่ม 12(6) การวัดอ้างอิงฟังก์ชันการถ่ายโอนนัซเซลของกังหันลมผลิตไฟฟ้า
  WIND ENERGY GENERATION SYSTEMS - PART 12-6: MEASUREMENT BASED NACELLE TRANSFER FUNCTION OF ELECTRICITY PRODUCING WIND TURBINES
  มอก. มาตรฐานทั่วไป
  13 กันยายน 2567

ประกาศและงานทั่วไป
141
พิเศษ 252 ง หน้า 36
12 กันยายน 2567
19 กรกฏาคม 2567

- กำหนดขึ้นโดยรับ IEC 61400-12-6:2022 WIND ENERGY GENERATION SYSTEMS – Part 12-6: Measurement based nacelle transfer function of electricity producing wind turbines มาใช้โดยวิธีพิมพ์ซ้ำ (reprint) ในระดับเหมือนกันทุกประการ (identical) โดยใช้ IEC ฉบับภาษาอังกฤษเป็นหลัก - ระบุขั้นตอนสำหรับการวัดฟังก์ชันการถ่ายโอนความเร็วลมที่ความสูงของกังหันลมแกนนอนผลิตไฟฟ้าเพียงตัวเดียว ซึ่งไม่ถือว่าเป็นกังหันลมขนาดเล็กตามมาตรฐาน มอก. 3761 เล่ม 2 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้จะใช้เมื่อต้องการฟังก์ชันการถ่ายโอนความเร็วลมที่ความสูงกังหันลม ที่ถูกต้องเพื่อดำเนินการวัดสมรรถนะกำลังการผลิตไฟฟ้าตามมาตรฐาน มอก. 3760 เล่ม 12(2) - ความเร็วลมที่วัดได้บนนัซเซลหรือดุมใบของกังหันลมจะได้รับผลกระทบ จากชุดใบของกังหัน (เช่น เร่งหรือลดความเร็วลม) ในมาตรฐาน มอก. 3760 เล่ม 12(1) เครื่องวัดความเร็วลมจะตั้งอยู่บนเสาตรวจวัดลม ซึ่งอยู่เหนือลมห่างออกไปในระยะระหว่าง 2 ถึง 4 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของส่วนหมุนที่ทดสอบ ตำแหน่งนี้ช่วยให้สามารถวัดลมได้อย่างอิสระ โดยมีการรบกวนน้อยที่สุดจากชุดใบของกังหันทดสอบ ในขั้นตอนของเอกสารนี้ เครื่องวัดความเร็วลมจะติดตั้งอยู่บนหรือใกล้กับห้องเครื่องของกังหันทดสอบ ณ ตำแหน่งนี้ เครื่องวัดความเร็วลมจะได้รับผลกระทบอย่างมากจาก ชุดใบของกังหันทดสอบและตัวห้องเครื่องเอง ขั้นตอนในเอกสารนี้ประกอบด้วยวิธีการกำหนด และการแก้ไขที่เหมาะสมสำหรับผลกระทบนี้ อย่างไรก็ตามการแก้ไขเหล่านี้จะเพิ่มความไม่แน่นอนของการวัด เมื่อเทียบกับการทดสอบที่กำหนดค่าอย่างเหมาะสมซึ่งดำเนินการตามมาตรฐาน มอก. 3760 เล่ม 12(1) - ระบุวิธีการกำหนดคุณลักษณะของฟังก์ชั่นการถ่ายโอนความเร็วลมที่ความสูงของกังหันลม ซึ่งฟังก์ชันการถ่ายโอนความเร็วลมถูกกำหนดโดยการรวบรวมข้อมูลความเร็วลมจากบนตัวกังหันลมและข้อมูลลมที่เป็นอิสระที่วัดจาก เสาตรวจวัดลม ในระยะเวลาที่นานพอที่จะสร้างฐานข้อมูลที่มีนัยสำคัญ ทางสถิติในทุกช่วงความเร็วลม สภาพลมและสภาพบรรยากาศที่แตกต่างกัน ขั้นตอนนี้ยังให้คำแนะนำเกี่ยวกับการกำหนดค่าความไม่แน่นอนของการวัด รวมถึงการประเมินแหล่งที่มาของความไม่แน่นอนและคำแนะนำสำหรับ การรวมความไม่แน่นนอนเข้าด้วยกัน


Tisi-IT P3.02 Version 2023
พัฒนาระบบโดย ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร