รายละเอียดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  62350-2567
  ข้อแนะนำการใช้งานอย่างถูกต้องสำหรับอุปกรณ์ป้องกันชนิดตัดวงจรกระแสเหลือ (RCD) สำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและใช้ในลักษณะที่คล้ายกัน
  GUIDANCE FOR THE CORRECT USE OF RESIDUAL CURRENT - OPERATED PROTECTIVE DEVICES (RCDs) FOR HOUSEHOLD AND SIMILAR USE
  มอก. มาตรฐานทั่วไป
  10 ตุลาคม 2567
  IEC TR 62350:2006

ประกาศและงานทั่วไป
141
พิเศษ 279 ง หน้า 37
9 ตุลาคม 2567
2 สิงหาคม 2567

- กล่าวถึงภาพรวมของการป้องกันโดยอุปกรณ์ป้องกันชนิดตัดวงจร กระแสเหลือ (RCD) ที่เป็นไปตามมาตรฐาน IEC สำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย และใช้ในลักษณะที่คล้ายกัน โดยเน้นที่ตัวแปรหลักที่มีอิทธิพลต่อ ความเชื่อถือได้ในการป้องกัน และให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการติดตั้งและใช้งาน RCD ที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมหลังการติดตั้ง - ข้อแนะนำนี้กล่าวถึงข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับความพร้อมใช้งานของการป้องกันในการติดตั้งยึดกับที่ และวิธีการรักษาระดับความพร้อมใช้งานของ การป้องกันในระดับสูงระหว่างการใช้งาน (การติดตั้งและการบำรุงรักษา) โดยกำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ของคณะกรรมการวิชาการ ผู้ติดตั้ง ผู้ตรวจสอบ และผู้ใช้ หมายเหตุ 1 RCD เป็นคำทั่วไปที่ใช้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์เปิดวงจรอัตโนมัติเพื่อตอบสนองต่อกระแสเหลือมากกว่าหรือเท่ากับกระแสเหลือที่ทำงานที่กำหนดของ RCD (I_∆n) นิยามทั่วไปนี้มักใช้กับสิ่งต่อไปนี้ RCCB – เครื่องตัดวงจรกระแสเหลือแบบไม่มีอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน (Residual Current Circuit Breaker without overcurrent protection) RCBO – เครื่องตัดวงจรกระแสเหลือแบบมีอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน (Residual Current Breaker with Overcurrent protection) SRCD – อุปกรณ์กระแสเหลือสำหรับเต้ารับ (Socket outlet Residual Current Device) PRCD – อุปกรณ์กระแสเหลือแบบพกพา (Portable Residual Current Device) RCCB แตกต่างจาก RCBO ตรงที่ RCBO จะตอบสนองต่อภาวะกระแสเกินในขณะที่ RCCB จะไม่ตอบสนองต่อภาวะดังกล่าว หมายเหตุ 2 PRCD ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการติดตั้งยึดกับที่ และไม่อยู่ในขอบข่าย ของมาตรฐานนี้


Tisi-IT P3.02 Version 2023
พัฒนาระบบโดย ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร