รายละเอียดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  60793 เล่ม 1(31)-2567
  เส้นใยนำแสง เล่ม 1(31) วิธีการวัดและขั้นตอนการทดสอบ - ความต้านแรงดึง
  OPICAL FIBRES - PART 1-31: MEASUREMENT METHODS AND TEST PROCEDURE - TENSILE STRENGTH
  มอก. มาตรฐานทั่วไป
  22 กุมภาพันธ์ 2568
  IEC 60793-1-31:2019

ประกาศและงานทั่วไป
141
พิเศษ 290 ง หน้า 22
25 ตุลาคม 2567
19 กันยายน 2567
ยกเลิก มอก.2768 เล่ม 1(31)-2559 และประกาศ มอก.60793 เล่ม 1(31)-2567 ขึ้นใหม่ ให้มีผลเมื่อพ้นกำหนด 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (25 ต.ค. 2567) (**มอก.60793 เล่ม 1(31)-2567 มีผลใช้งานตั้งแต่วันที่ 22 ก.พ. 2568 เป็นต้นไป)

- ระบุค่าความต้านแรงดึงภายใต้การโหลดเชิงพลวัติของตัวอย่างเส้นใยนำแสง โดยวิธีนี้จะทดสอบความยาวแต่ละส่วนของเส้นใยนำแสงที่ไม่เป็นสายเคเบิลและไม่เป็นกลุ่มเส้นใยนำแสง การทำให้เส้นใยนำแสงเสียหายเกิดจาก การควบคุมการเพิ่มขึ้นของค่าความเค้นและความเครียดอย่างสม่ำเสมอตลอดความยาวเส้นใยและส่วนหน้าตัด ค่าความเค้นและค่าความเครียด จะเพิ่มขึ้นในอัตราคงที่จนกระทั่งเส้นใยขาด - การกระจายของค่าความต้านแรงดึงของเส้นใยนำแสงที่ให้ไว้ขึ้นอยู่กับ ความยาวของตัวอย่างทดสอบ ความเร็วของโหลด และภาวะแวดล้อม การทดสอบสามารถใช้ตรวจสอบหากต้องการข้อมูลทางสถิติของ ความแข็งแรงเส้นใย ผลการทดสอบให้รายงานในรูปแบบของการกระจายเชิงสถิติของการควบคุมคุณภาพ โดยปกติควรดำเนินการทดสอบหลัง การปรับสภาวะอุณหภูมิและความชื้นของตัวอย่างทดสอบ อย่างไรก็ตาม บางกรณีอาจทำการทดสอบภายใต้ภาวะอุณหภูมิและความชื้นโดยรอบก็ได้ - สามารถใช้วิธีนี้กับเส้นใยนำแสงประเภท A1 ประเภท A2 ประเภท A3 ประเภทชั้น B และประเภทชั้น C - วัตถุประสงค์ของมาตรฐานนี้คือ กำหนดคุณลักษณะที่ต้องการสำหรับลักษณะเฉพาะทางกลเรื่องความต้านแรงดึง


Tisi-IT P3.02 Version 2023
พัฒนาระบบโดย ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร