60793 เล่ม 1(34)-2567
เส้นใยนำแสง เล่ม 1(34) วิธีการวัดและขั้นตอนการทดสอบ - ความคดเส้นใย
OPICAL FIBRES - PART 1-34: MEASUREMENT METHODS AND TEST PROCEDURE - FIBRE CURL
มอก. มาตรฐานทั่วไป
22 กุมภาพันธ์ 2568
IEC 60793-1-34:2021
ประกาศและงานทั่วไป
141
พิเศษ 290 ง หน้า 24
25 ตุลาคม 2567
19 กันยายน 2567
- กำหนดคุณลักษณะที่ต้องการสำหรับลักษณะเฉพาะทางกลเรื่องความคดเส้นใยหรือความคดแฝงในเส้นใยที่ไม่มีการเคลือบ เช่น ความยาวที่ระบุของเส้นใยที่ลอกสารเคลือบออกแล้ว ความคดเส้นใยเป็นพารามิเตอร์ที่สำคัญสำหรับการลดความสูญเสียของการเชื่อมเส้นใยนำแสง (splicing) เมื่อใช้เครื่องเชื่อมเส้นใยนำแสงแบบพาสซีฟ (passive alignment fusion splicer) หรือ เครื่องเชื่อมเส้นใยนำแสงแบบแอกทีฟ (active alignment fusion splicer)
- วิธีการวัดที่ใช้ในการวัดความคดเส้นใยในเส้นใยที่ไม่มีการเคลือบมี 2 วิธี
• วิธี A : การใช้กล้องจุลทรรศน์แบบมุมมองด้านข้าง (side view microscopy)
• วิธี B : การกระเจิงของลำแสงเลเซอร์ (laser beam scattering)
- วิธีการวัดทั้งสองวิธีใช้วัดรัศมีความคดของเส้นใยที่ไม่มีการเคลือบ ซึ่งหาได้จากค่าความเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้นตรงจุดปลายเส้นใยนำแสงที่หมุนรอบแกนของเส้นใยนำแสงอย่างอิสระ วิธี A ใช้วีดิทัศน์แบบภาพหรือแบบดิจิทัลเพื่อหาความเบี่ยงเบนของเส้นใย ในขณะที่วิธี B ใช้เซนเซอร์แบบตรวจจับเส้นเพื่อวัดความเบี่ยงเบนสูงสุดของลำแสงเลเซอร์เทียบกับลำแสงเลเซอร์อ้างอิง
- จากการวัดพฤติกรรมการเบี่ยงเบนของเส้นใยขณะหมุนรอบแกนของเส้นใยนำแสงและการพิจารณารูปร่างเรขาคณิตของอุปกรณ์วัดพบว่า รัศมีความคดของเส้นใยสามารถคำนวณได้จากแบบจำลองทรงกลมอย่างง่ายซึ่งการเบี่ยงเบนให้ไว้ในภาคผนวก C
- วิธีการวัดทั้งสองวิธีสามารถใช้ได้กับเส้นใยนำแสงประเภทชั้น B ตามที่อธิบายไว้ใน IEC 60793 (ทุกเล่ม)
- วิธี A ใช้เป็นวิธีทดสอบอ้างอิงซึ่งใช้แก้ไขข้อพิพาท