เลขที่ มอก. : 62933 เล่ม 2(200)-2567
ชื่อ มอก. :
ระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า เล่ม 2(200) พารามิเตอร์หน่วยและวิธีการทดสอบ - กรณีศึกษาของระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าที่ติดตั้งในสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าร่วมกับเซลล์แสงอาทิตย์
TIS NAME :
ELECTRICAL ENERGY STORAGE (EES) SYSTEMS - PART 2-200: UNIT PARAMETERS AND TESTING METHODS - CASE STUDY OF ELECTRICAL ENERGY STORAGE (EES) SYSTEMS LOCATED IN EV CHARGING STATION WITH PV
ประเภทมาตรฐาน :
มอก. มาตรฐานทั่วไป
วันที่เริ่มใช้ :
26 ตุลาคม 2567
ประกาศในราชการกิจจานุเบกษา :
ฉบับที่ ประกาศและงานทั่วไป
เล่ม 141
ตอน พิเศษ 290 ง หน้า 9
วันที่ 25 ตุลาคม 2567
ประกาศกระทรวง :
ฉบับที่
วันที่ 19 กันยายน 2567
บทคัดย่อ ภาษาไทย : - เป็นรายงานทางเทคนิคที่นำเสนอกรณีศึกษาของระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า (ระบบ EES) ที่ติดตั้งในสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าซึ่งใช้การผลิตกำลังไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ (PV-EES-EV charging stations) ที่มีระดับแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 20 kV
- ระบบ EES ในมาตรฐานนี้ถูกเน้นให้เป็นทางเลือกที่ต้องการในการสร้างสถานีอัดประจุที่เป็นมิตรกับโครงข่ายไฟฟ้า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานีอัดประจุกำลังไฟฟ้าสูงได้อย่างรวดเร็ว) เพื่อปรับปรุงการสิ้นเปลืองพลังงานในตัวของการผลิตพลังงานสะอาด และเพิ่มรายได้ให้กับสถานี ในการประยุกต์ใช้นี้ระบบ EES แสดงสมรรถนะที่ยอดเยี่ยมโดยทำงานได้หลากหลายในโหมด
การทำงานที่ใช้ได้ เช่น การลดความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุด (peak shaving) การปรับเรียบกำลังไฟฟ้า (power smoothing) การติดตามโหลด (load tracing) การหากำไรจากค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาของการใช้งาน (time-of-use (TOU)) และการให้บริการเสริม (ancillary service)
วัฏจักรการทำงานโดยทั่วไปเป็นข้อแนะนำที่อยู่บนพื้นฐานจากข้อสรุปลักษณะเฉพาะการทำงานของระบบ EES
- รวมถึงรายการต่อไปนี้
– ภาพรวมของสถานีอัดประจุ PV-EES-EV ทั่วไป
– การวิเคราะห์การทำงานของระบบ EES ในกรณีศึกษาโครงการทั่วไป
– ข้อสรุปและข้อแนะนำของโหมดการทำงานในระบบ EES
Abstract :