3943-2567
หุ่นยนต์และอุปกรณ์หุ่นยนต์ - ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยสำหรับหุ่นยนต์ดูแลส่วนบุคคล
ROBOTS AND ROBOTIC DEVICES - SAFETY REQUIREMENTS FOR PERSONAL CARE ROBOTS
มอก. มาตรฐานทั่วไป
8 กุมภาพันธ์ 2568
ประกาศและงานทั่วไป
142
พิเศษ 55 ง หน้า 6
7 กุมภาพันธ์ 2568
26 ธันวาคม 2567
- ระบุข้อกำหนดและแนวทางการออกแบบที่ปลอดภัย มาตรการป้องกัน
และข้อมูลสำหรับการใช้หุ่นยนต์ดูแลส่วนบุคคล โดยเฉพาะหุ่นยนต์ดูแล
ส่วนบุคคล 3 ประเภทต่อไปนี้
- หุ่นยนต์บริการเคลื่อนที่ (mobile servant robot)
- หุ่นยนต์ช่วยเหลือทางกายภาพ (physical assistant robot)
- หุ่นยนต์เคลื่อนย้ายบุคคล (person carrier robot)
- โดยทั่วไปหุ่นยนต์เหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้
โดยไม่คำนึงถึงอายุหรือสมรรถภาพของผู้ใช้ มาตรฐานนี้อธิบายอันตราย
ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หุ่นยนต์เหล่านี้ และระบุข้อกำหนดเพื่อกำจัดหรือ
ลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอันตรายเหล่านั้นให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ มาตรฐานนี้ครอบคลุมการใช้งานการสัมผัสทางกายภาพระหว่างมนุษย์
กับหุ่นยนต์
- นำเสนออันตรายที่สำคัญและอธิบายวิธีจัดการกับอันตรายสำหรับหุ่นยนต์ดูแลส่วนบุคคลแต่ละประเภท
- ครอบคลุมอุปกรณ์หุ่นยนต์ที่ใช้ในการดูแลส่วนบุคคล ซึ่งถือว่าเป็นหุ่นยนต์ดูแลส่วนบุคคลด้วย
- จำกัดเฉพาะหุ่นยนต์ที่ใช้งานบนพื้นโลก
- ไม่ครอบคลุมถึง
- หุ่นยนต์ที่เดินทางได้เร็วกว่า 20 km/h
- หุ่นยนต์ของเล่น
- หุ่นยนต์เคลื่อนที่ในน้ำ และหุ่นยนต์ที่บินได้
- หุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่ครอบคลุมใน ISO 10218
- หุ่นยนต์ที่เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์
- หุ่นยนต์ทางการทหารหรือหุ่นยนต์ที่ใช้บังคับตามกฎหมาย
หมายเหตุ หลักการด้านความปลอดภัยที่ประกาศในมาตรฐานนี้ สามารถปรับใช้ได้
กับหุ่นยนต์ประเภทต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น
- ขอบข่ายของมาตรฐานนี้ จำกัดอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการดูแลบุคคลเป็นหลัก แต่ (หากเหมาะสม) ยังรวมถึงอันตรายต่อสัตว์หรือทรัพย์สิน (นิยามเป็นวัตถุที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย) เมื่อหุ่นยนต์ดูแลส่วนบุคคลได้รับ
การติดตั้ง บำรุงรักษา และใช้งานตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือภายใต้เงื่อนไขที่สามารถคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล
- ใช้ไม่ได้กับหุ่นยนต์ที่มีการผลิตก่อนวันที่มาตรฐานนี้เผยแพร่
- เกี่ยวข้องกับอันตรายที่สำคัญทั้งหมด สถานการณ์อันตรายหรือเหตุการณ์อันตรายตามที่อธิบายไว้ใน Annex A ทั้งนี้ให้คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า สำหรับอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการกระแทก (เช่น เนื่องจากการชน) ยังไม่มีข้อมูลที่ครอบคลุมและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล (เช่น ขีดจำกัด
ความเจ็บปวดหรือการบาดเจ็บ) ในขณะที่มีการเผยแพร่มาตรฐานนี้